โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

เมื่อหู “ไม่ได้ยินเสียง” จะทำอย่างไร ?

“เคยคิดหรือไม่ ? หากวันหนึ่งท่านไม่ได้ยินเสียง ท่านจะทำอย่างไร ? ”

หู คือ อวัยวะที่เราคอยใช้ฟังเสียงต่าง ๆ และถือว่าเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดอีกด้วย แต่ถ้าหากหูของท่านเกิดการสูญเสียการได้ยินขึ้นมา ไม่ว่าจะเกิดด้วยอุบัติเหตุ อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ การใช้งานหูอย่างหนัก อาจจะทำให้การใช้ชีวิตของท่านเปลี่ยนไปตลอดชีวิตเลยก็ได้ ซึ่งถ้าหากท่านยังคิดอยู่ว่า ท่านยังคงฟังเสียงได้อย่างปกติดีอยู่แล้ว เพราะอายุของท่านยังน้อย ปล่อยให้การได้ยินถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุด ปัญหาที่เกิดมันร้ายแรงเกินกว่าที่ท่านจะรับได้ เมื่อถึงตอนนั้นก็อาจจะช้าไปเสียแล้ว ดังนั้นสำหรับท่านใดที่คิดว่าหูของท่านคือสิ่งสำคัญ แล้วอยากรู้วิธีการตรวจสอบการได้ยินของตัวท่านเองว่าปกติดีหรือไม่ ศูนย์การได้ยินเดียร์ จะขอแนะนำบริการ” “ตรวจวัดระดับการได้ยิน” ว่าการได้ยินของท่าน ยังปกติดีอยุ่หรือไม่

การตรวจการได้ยินคืออะไร ? 
คือการตรวจหาระดับการได้ยินของหูทั้งสองข้างเพื่อดูว่ามีการสูญเสียการได้ยินในระดับใด ด้วยการทดสอบการไล่ระดับความดังของเสียงในแต่ละความถี่ โดยทำการตรวจผ่านเครื่องAudiometer และตู้เก็บเสียง โดยจะให้ผู้เข้าทดสอบ กดปุ่มผ่านอุปกรณ์(Patient response)โดยกดค้างไว้หากได้ยินเสียง ซึ่งการตรวจการได้ยินนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงผ่านอากาศ,การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางกระดูก และการตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงพูด เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว ก็จะนำผลการตรวจมาวิเคราะห์ดูว่าความสามารถในการได้ยินมีความผิดปกติหรือไม่ และเพื่อให้ทราบระดับการได้ยินของผู้ทดสอบอีกด้วย

ภาพกราฟจำลองระดับการสูญเสียการได้ยินตามคลื่นความถี่
Credit : babyhearing.org

Patient response

ภาพกราฟผลตรวจการได้ยิน

Audiometer

การตรวจการได้ยินจะต้องตรวจอะไรบ้าง ? 
          1.เริ่มต้นเลย นั้นคือการทำประวัติเบื้องต้น เพื่อซักถามประวัติเกี่ยวกับการได้ยินว่าเคยมีปัญหามาก่อนหรือไม่ หรือ มีอาการจากการได้ยินมาเป็นอย่างไร

          2.หลังจากสอบถามประวัติเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการตรวจความผิดปกติในช่องหู ซึ่งเราจะใช้อุปกรณ์มีชื่อว่า Otoscope มี่หน้าที่ในการส่องดูช่องหู และเยื่อแก้วหูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เมื่อตรวจเสร็จแล้ว ก็จะให้ผู้เข้ารับการตรวจ เข้าไปในตู้เก็บเสียงเพื่อทำการตรวจต่อ ซึ่งการตรวจผ่านตู้เก็บเสียงนั้นจะมีการตรวจหูทั้ง 3 อย่างด้วยกันนั้นก็คือ 

-การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) คือการตรวจการฟังเสียงผ่านหูฟัง เข้าสู่หูชั้นนอก,ชั้นกลาง,ชั้นใน โดยใช้เสียงบริสุทธิ์(Pure tone)เป็นตัวทดสอบ เพื่อดูว่าสูญเสียการได้ยินในระดับไหน (โดยเริ่มต้นจาก การสูญเสียระดับเล็กน้อย ถึงสูญเสียระดับมาก) 

-การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางกระดูก (Bone conduction) เป็นการตรวจการได้ยินผ่านหูฟังเข้าทางกระดูกกกหู(กระดูกมาสตอยด์) โดยใช้เสียงบริสุทธิ์(Pure tone)เป็นตัวทดสอบ เพื่อแยกการสูญเสียทางการได้ยินว่าหูเสียแบบไหน เช่น ปลายประสาทหูเสื่อม,ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง เป็นต้น

-การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงพูด (Speech audiometer)เป็นการตรวจเพื่อดูความสามารถในการแยกแยะเสียงของระบบประสาทหูว่า คงเหลืออยู่เท่าไหร่ ด้วยการทดสอบพูดตามเสียงที่ได้ยิน

อุปกรณ์ Otoscope

การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางกระดูก

เครื่องตรวจการได้ยินและสภาพห้องตรวจ

การตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงผ่านอากาศ

          3.เมื่อทำการตรวจตามขั้นตอน ดังที่กล่าวมาเสร็จเรียบร้อย ก็นำผลตรวจที่ได้มาวิเคราะห์หาระดับการได้ยินของผู้เข้ารับการตรวจ ถ้าหากผลการตรวจออกมาแล้วไม่มีความผิดปกติใด ๆ อาจจะแนะนำให้พบกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาอาการต่อไป ในกรณีที่เจ็บหูหรือมีอาการหูอื้อ แต่ถ้าหากการผลตรวจ แสดงผลถึงความผิดปกติทางการได้ยิน เช่นการได้ยินเสียงสูง เสียงต่ำมีปัญหา ก็จะเป็นขั้นตอนในการทดลองใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเครื่องช่วยฟังที่ใช้ทดลองนั้นเป็นเครื่องช่วยฟัง  WIDEX โดยเจ้าหน้าที่จะใช้โปรแกรม WIDEX compass GPS ในการปรับจูนเครื่องช่วยฟังให้เสียงที่เข้าผ่านเครื่องนั้นเข้าไปขยายเสียงให้พอดีกับระดับการได้ยินตามผลตรวจ และใช้เพื่อประเมินการใช้เครื่องช่วยฟัง ส่วน Speech tracker จะแสดงให้เห็นเป็นกราฟผ่านหน้าจอโปรแกรม WIDEX compass GPS ในขณะที่ผู้เข้าทดสอบ สวมใส่เครื่องช่วยฟังอยู่ว่า หลังจากที่ใส่แล้วการได้ยินของผู้สวมใส่ดีขึ้นหรือได้ยินชัดเจนมากขึ้นแค่ไหน ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์

เจ้าหน้าที่ตรวจการได้ยินชี้ไปยังกราฟเพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับการได้ยินของผู้ทดสอบว่าอยู่ในระดับไหน

Speech tracker ใช้ในการอธิบายฟังก์ชั่นของการทำงานเครื่องช่วยฟังว่าเมื่อผู้ทดสอบสวมใส่แล้วการได้ยินดีขึ้นแค่ไหน

          เมื่อไม่ได้ยินเสียง หรือเกิดปัญหาทางการได้ยินขึ้นเช่น ได้ยินเสียงเบาลง ได้ยินเสียงไม่ชัด หรือฟังเสียงที่ดังขึ้นแต่ได้ยินเหมือนปกติ ควรรีบมาตรวจการได้ยินเพื่อหาสาเหตุของอาการให้ไวที่สุดเพราะ หากปล่อยเอาไว้นาน อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเกิดอุบัติเหตุ หรือการสื่อสารผิดพลาดกับคนรอบข้างได้ หากท่านใดที่สนใจอยากใช้บริการตรวจการได้ยิน สามารถเข้ารับบริการตรวจการได้ยินได้ที่ศูนย์การได้ยินเดียร์ ทั้ง 13 สาขาทั่วประเทศ ดูแผนที่ตั้งของแต่ละสาขาได้ ที่นี่่ ค่าใช้จ่ายในการตรวจการได้ยินราคาเพียง 400 บาท หรือท่านใดที่ใช้เครือข่ายโทรศัพท์ของ DTAC สามารถใช้สิทธิ์เพื่อรับการตรวจการได้ยินฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานได้ ที่นี่ หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่เบอร์ 02-668-1300 ทุกวันเว้นวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00น. Fanpage : DEAR HEARING หรือทำนัดตรวจออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dear.co.th/appointment/

วีดีโอแนะนำการเข้ารับการตรวจการได้ยิน

Recent Posts
Clear Filters

Add Comment

You must be logged in to post a comment.

ระดับการได้ยิน

การได้ยินปกติ สามารถได้ยินเสียงเบาๆ ระดับ 0-20 เดซิเบล (dB) เช่น เสียงน้ำหยด เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงนกร้อง

สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย  สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 20 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 40 เดซิเบล (dB) เริ่มมีปัญหาในการฟัง จับใจความสนทนายาก เนื่องจากพยัญชนะบางตัวขาดหายไป เช่น ผ ฝ พ ภ เป็นต้น จะมีคำพูดติดปาก เช่น หา? ว่าอะไรนะ? พูดอีกครั้งได้ไหมคะ? เป็นต้น

สูญเสียการได้ยินปานกลาง สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 40 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 60 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ปัญหาในการจับใจความสนทนาอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถได้ยินพยัญชนะ และเสียงสระ

สูญเสียการได้ยินมาก สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 60 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 75 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ปัญหาในการสนทนา และสื่อความหมายอย่างชัดเจน เนื่องจาก ไม่สามารถได้ยินเสียงสนทนาในระดับปกติ ต้องให้คู่สนทนาพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติ

สูญเสียงการได้ยินรุนแรง สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 75 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 90 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ต้องตะโกนเสียงดัง บทสนทนาจึงจะพอได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินเสียงรอบๆตัวในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงโทรศัพท์ เสียงสุนัขเห่า เป็นต้น

สูญเสียการได้ยินรุนแรงมาก / หูหนวก สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 90 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ได้ยินแต่เสียงที่ดังมากๆ เช่น เสียงประทัด เสียงเครื่องบิน เสียงในดิสโก้เทค แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายสูง อาจจะพอได้ยินบ้าง แต่จะมีปัญหาในการแยกแยะเสียงได้

 

แบบทดสอบการได้ยินเบื้องต้น

  1. คุณรู้สึกว่าคนรอบข้างพูดเสียงค่อยกว่าปกติ?
  2. คุณรู้สึกว่าลำบากในการฟังเสียงพูดค่อยๆ?
  3. คุณรู้สึกเหนื่อยเมื่อฟังการสนทนาที่ยาวๆ?
  4. คุณพูดคำว่า “หา” หรือ “อะไรนะ” บ่อยๆ?
  5. คุณมีปัญหาในการเข้าใจการสนทนาในงานเลี้ยงบ่อยๆ?
  6. คุณมีปัญหาในการเข้าใจการสนทนาในที่ที่มีคนพลุกพล่าน?
  7. คุณมีปัญหาในการสนทนาผ่านโทรศัพย์มือถือ?
  8. คุณไม่ค่อยได้ยินเสียงนกร้อง เสียงลมพัด?
  9. คุณไม่ค่อยได้ยินเสียงโทรศัพท์ หรือ กริ่งประตูบ้าน?
  10. คนรอบข้างคุณมักจะบ่นว่า คุณเปิดเสียงทีวี หรือ วิทยุดังเกินไป?
  11. คนรอบข้างคุณคิดว่า คุณหูตึง หรือไม่?

*หากว่าคำตอบคือ “ใช่” ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป คุณควรเข้ารับการตรวจวัดระดับการได้ยิน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ศูนย์การได้ยินเดียร์ มีบริการตรวจการได้ยิน เพื่อการวินิจฉัยอาการที่แม่นยำสำหรับรักษา และฟื้นฟูในลำดับต่อไป

  • บริการตรวจการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction)
  • บริการตรวจการได้ยินทางกระดูก (Bone Conduction Test)
  • บริการตรวจสภาพหูชั้นกลาง
  • บริการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (ABR : Auditory Brainstem Response) 
  • และบริการตรวจหาระดับการได้ยินจากก้านสมอง (ASSR : Auditory Steady State Response) 
ทดลองตรวจการได้ยินฟรี

บริการนัดตรวจการได้ยิน

ศูนการได้ยิน เดียร์ เปิดบริการมากกว่า 30 ปี  โดยให้ผลตรวจโดยตรงจาก Audiologist ให้คุณได้มั่นใจในบริการ สามารถนัดตรวจออนไลน์เพื่อนัดหมาย ในการเข้ารับบริการได้แล้ว ทางเราจะรีบติดต่อกลับทันที เพื่อให้คุณ

มีความสุขกับการได้ยินอีกครั้ง… 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE