โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ใส่ได้ค่ะ แต่ต้องมาทำการตรวจการได้ยินก่อนใส่ เพื่อให้ทราบถึงระดับการสูญเสียที่แท้จริง อาจมีบางท่านที่หูเสียเยอะ จนทำให้ใส่เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผล

โรคประสาทหูเสื่อม หรือ Sensorineural Hearing Loss เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างภายในหูชั้นในหรือเส้นประสาทรับเสียงถูกทำลาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินหรือมีปัญหาในการฟัง

ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายดีด้วยการผ่าตัด แต่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อช่วยให้กลับมาดำเนินชีวิตได้โดยไม่ติดขัด

หากคุณหรือใครที่คุณรู้จักมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและเข้ารับการรักษา รวมถึงขอคำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเองอย่างถูกวิธี

  1. พูดคุยกันภายในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพราะผู้ที่สูญเสียการได้ยินจะอ่านปาก และสังเกตสีหน้าของผู้พูด
  1. เลือกสถานที่ที่มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด ซึ่งห้องขนาดเล็กที่ไม่มีพรมหรือผ้าม่านมักจะมีเสียงที่ไม่ดีและอาจบิดเบือนเสียงได้
  1. พูดคุยกันโดยให้เห็นใบหน้าชัดเจน เพื่อให้สื่อสารกันได้อย่างชัดเจน

สำหรับผู้สูงอายุนั้น โดยทั่วไปผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจการได้ยินพื้นฐาน และได้รับการตรวจซ้ำ ทุก ๆ 2 – 3 ปี แต่สำหรับผู้ที่ทำงานท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง แม้จะอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่หากคุณได้รับ เสียงที่ดังกว่า 85 เดซิเบลเป็นประจำ ขอแนะนำให้เข้ารับการตรวจการได้ยิน ทุกๆ 2 – 3 ปี หรือทุกๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง

1. ใส่อยู่ที่บ้านทำความคุ้นชินกับเครื่องช่วยฟังของคุณ

2. ทดสอบการได้ยินด้วยตัวเอง เช่น เปิดทีวีดู หรือฟังเสียงรอบข้าง

3. กะเวลาการใส่ในแต่ละวัน เช่น วันที่ 1 ใส่ 3 ชม. วันที่ 2 ใส่ 4 ชม. เพิ่ม ชม. ขึ้นไปเรื่อยๆ

4. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ให้ปรับการได้ยินให้เข้ากับตัวเอง

5. เรียนรู้การดูแลเครื่องช่วยฟังกับ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

6. ต้องอดทนและค่อยเป็นค่อยไปในการปรับตัว เพราะการใส่เครื่องช่วยฟังทำให้เสียงที่เราไม่เคยได้ยินกลับมาได้ยินอีกครั้งทำให้อาจจะปรับตัวไม่ค่อยได้

7. รายงานการได้ยินเป็นระยะกับผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละเดือน

1. เวลาพูดคุยมีการเรียกซ้ำบ่อยครั้ง พูด หะ อะไรนะ บ่อยครั้ง
2. รู้สึกฟังเสียงผู้สนทนายากในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
3. ฟังเสียงแหลมสูงไม่ค่อยได้ยินชัดเจน เช่น เสียงผู้หญิง เสียงเด็ก
4. มีอาการหูอื้อเป็นบางครั้ง
ควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลการได้ยินเฉพาะทางเพื่อแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง

ปัจจุบันนี้มีเครื่องช่วยฟังให้เลือกหลากหลายรูปแบบตามแต่ความต้องของของแต่ละบุคคลนั้นๆ ซึ่งลักษณะเครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีดังนี้

  • เครื่องช่วยฟังทัดหลังหู BTE

เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู Behind-The-Ear (BTE) มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับกำลังขยาย โดยมีท่อนำเสียงเชื่อมต่อช่องหูกับเครื่องช่วยฟัง เหมาะสำหรับการสูญเสียการได้ยินที่รุนแรง

  • เครื่องช่วยฟังในหู ITE

เครื่องช่วยฟังในหู In-The-Ear (ITE) สามารถใส่เข้าไปในช่องหูได้โดยที่ไม่ต้องมีสายนำเสียงมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับกำลังขยาย เหมาะสำหรับการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อย จนถึงมาก

  • เครื่องช่วยฟังในช่องหู CIC

เครื่องช่วยฟัง Completely-In-the-Canal (CIC) เป็นเครื่องช่วยฟังที่เล็ก เหมาะสำหรับการสูญเสียการได้ยินในระดับการได้ยินต่ำถึงปานกลาง

  • เครื่องช่วยฟังทัดหลังหู RIC , RITE

เครื่องช่วยฟังทัดหลังหู RIC , RITE สูญเสียเล็กน้อย จนถึงมาก โมเดล Receiver-in-canal (RIC) มีลักษณะคล้ายกับรุ่น Receiver-in-the-ear (RITE) แต่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันของตัวรับสัญญาณในหู

กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นมีระดับเสียงเบาดังแตกต่างกัน อย่างเสียงคุยกันปกติจะมีความดังประมาณ 60 เดซิเบล ซึ่งถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่ระดับเสียงที่อาจเป็นอันตราย คือ ระดับเสียงที่มีความดังประมาณ 85 เดซิเบลขึ้นไป อย่างเสียงการจราจรบนท้องถนน ซึ่งหากได้ยินความดังระดับนี้เป็นเวลานานอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากได้ยินเสียงที่มีความดังระดับ 120 เดซิเบลขึ้นไป อย่างเสียงไซเรนของรถพยาบาลอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการได้ยินในทันที

1.หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ หมูป่วยหรือตายจากโรค
2.หากผู้ปรุงมีแผลผิวหนังต้องปิดแผล และสวมถุงมือขณะปรุง
3.เลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดหรือโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำเนื้อยุบ
4.ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสนานอย่างน้อย 10 นาที
5.ผู้เลี้ยงหรือชำแหละหมูที่มีบาดแผล ต้องระวังการสัมผัสหมู หากมีการสัมผัสให้ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาด

คำแนะนำการใช้และดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง

วิธีดูแลรักษา

  • เปิดฝาถ่านเครื่องช่วยฟังออก และเก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในกล่องทุกครั้งหลังเลิกใช้งานเสร็จแล้ว
  • หลังการใช้งานเสร็จแล้ว ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟัง
  • ใช้แปรงปัดทำความสะอาดขี้หู
  • ควรเปลี่ยนแผ่นกรองขี้หูและจุกซิลิโคนเมื่อแผ่นกรองขี้หูและจุกซิลิโคนที่ใช้อยู่มีขี้หูอุดตันซึ่งอาจจะมีผลต่อการทำงานของเครื่องช่วยฟังได้
  • เก็บถ่านในที่แห้ง ในอุณหภูมิห้อง

ข้อระมัดระวังในการใช้เครื่องช่วยฟัง

  • อย่าทำตกหล่น บีบ หรือกระแทก
  • หลีกเลี่ยงความชื้น
  • หลีกเลี่ยงความร้อนสูง เช่น ไดร์เป่าผม , วางบนทีวี หรือไมโครเวฟ
  • ถ้าต้องการใช้สเปรย์หรือเจลแต่งผม กรุณาจัดแต่งทรงผมให้เรียบร้อยก่อนใส่เครื่องช่วยฟัง

ข้อแนะนำเพิ่มเติม :

  • เปลี่ยนแบตเตอรี่บนโต๊ะ เตียงนอน หรือบนที่ๆมีพื้นผิวนุ่ม
  • หลีกเลี่ยงการใส่หรือถอดเครื่องช่วยฟังขณะเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอื่นๆในเวลาเดียวกัน
  • เก็บเครื่องช่วยฟังในกล่องเก็บเครื่องช่วยฟัง (มีวัสดุกันการกระแทก)
  • หลีกเลี่ยงการเก็บเครื่องช่วยฟังในกระเป๋าเสื้อเปล่าๆหรือห่อกระดาษทิชชู่

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน ศูนย์การได้ยินเดียร์ พร้อมให้คำปรึกษา

  • โทร. 02-668-1300
  • Line : @dearhearing

นัดตรวจการได้ยิน

ศูนย์การได้ยิน เดียร์ เปิดให้บริการมามากกว่า 30 ปี  โดยให้ผลตรวจโดยตรงจาก Audiologist ให้คุณได้มั่นใจในบริการ สามารถนัดตรวจออนไลน์เพื่อนัดหมาย ในการเข้ารับบริการได้แล้ว ทางเราจะรีบติดต่อกลับทันที เพื่อให้คุณ

มีความสุขกับการได้ยินอีกครั้ง… 

ความรู้เกี่ยวกับการได้ยิน (HEARING KNOWLEDGE)

ความชื้นในเครื่องช่วยฟังเสี่ยงเครื่องพังก่อนอายุใช้งาน

ความชื้นกับเครื่องช่วยฟังนั้นเป็นของไม่ถูกกันเพราะหากเกิดความชื้นในเครื่องช่วยฟังแล้ว ย่อมมีปัญหาตามมาแน่นอน แต่จะมีปัญหายังไงนั้นต้องลองเข้ามาดูกัน

Read More »

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE