โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

ตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน (Audiography)

        เป็นการตรวจการได้ยินเสียง ณ ความถี่ต่างๆ ตั้งแต่ระดับความถี่เสียงสนทนา จนถึง เสียงเครื่องจักร ซึ่งเป็นความถี่ที่ไม่ได้ยินกันในชีวิตประจำวัน เป็นการตรวจการทำงานของหูและระบบโสตประสาท เพื่อประเมินระดับการได้ยินอย่างละเอียด ถือเป็นการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังภาวะสูญเสียการได้ยิน โดยการตรวจจะนำ ข้อมูลไปสร้างเป็นกราฟ เรียกว่า ออดิโอแกรม (audiogram) โดยผู้ที่มีการได้ยิน “ปกติ” จะมีระดับการได้ยินเสียงอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่ามีความผิดปกติของการได้ยิน

สังเกตเบื้องต้นว่ามีการได้ยินที่ผิดปกติ
  1. หากบุคคลนั้นเรียกแล้วไม่ได้ยิน ฟังคำพูดไม่ชัดเจนต้องถามซ้ำ
  2. ความถี่เกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อบ่อย มีเสียงรบกวนในหูบ่อย เป็นต้น
  3. บาดเจ็บบริเวณหูและศีรษะ ร่วมกับมีการสูญเสียการได้ยิน
  4. ตรวจก่อน/หลังการผ่าตัด หรือการใช้ยากลุ่มที่อาจทำลายประสาทหู
  5. ได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียงดัง หรือทำงานในที่ที่มีเสียงดัง
  6. มีประวัติหูตึง หูหนวกในครอบครัว สาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. เด็กที่พูดช้า พูดผิดปกติ ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือมีปัญหาการเรียนรู้

ควรตรวจการได้ยินบ่อยแค่ไหน

        สำหรับผู้สูงอายุนั้น โดยทั่วไปผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจการได้ยินพื้นฐาน และได้รับการตรวจซ้ำ ทุก ๆ 2 – 3 ปี แต่สำหรับผู้ที่ทำงานท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง แม้จะอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่หากคุณได้รับ เสียงที่ดังกว่า 85 เดซิเบลเป็นประจำ ขอแนะนำให้เข้ารับการตรวจการได้ยิน ทุก ๆ 2 – 3 ปี อ่านต่อ…

 

บริการตรวจการได้ยิน (Audiometry Service)

       ศูนย์การได้ยินเดียร์ให้บริการตรวจการได้ยินอย่างแม่นยำ 

  1. ห้องตรวจการได้ยิน
    เนื่องจากการตรวจการได้ยินคือการตรวจหาระดับความดังของเสียงที่เบาที่สุดที่คนคนนั้นจะสามารถได้ยิน  ( Hearing threshold ) การตรวจควรกระทำในห้องเงียบ สำหรับสถานที่ตั้งของห้องตรวจการได้ยิน  ท่านควรให้ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนต่างๆ เช่น ท่อน้ำทิ้งของอาคาร  ลิฟท์ ทางเดินร่วมของอาคาร  
  1. เครื่องตรวจการได้ยิน
    เครื่องตรวจการได้ยินต้องมีคุณภาพสูงได้มาตรฐานควรหลีกเลี่ยงเครื่องมือที่มีปุ่มหมุนหรือมีสวิทซ์ต่างๆ  ที่ก่อให้เกิดเสียงดังเวลาใช้งาน เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยเดาการตรวจจากเสียงรบกวนเหล่านี้ได้ ทำให้ผลการตรวจเชื่อถือไม่ได้  
  1. ผู้ตรวจการได้ยิน
    ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ตรวจการได้ยิน 2 ระดับ คือ นักโสตสัมผัสวิทยา ( Audiologist )  และพนักงานวิทยาศาสตร์ตรวจการได้ยิน     

การตรวจการได้ยินแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ  ได้แก่ การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียงและการตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจไฟฟ้า  ( Audiometer ) 

การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง
       จุดมุ่งหมายของการตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง   เพื่อแยกชนิดของความผิดปกติทางการได้ยินว่าเป็น Conductive hearing loss  หรือ  Sensorineural hearing loss  ตามปกติการตรวจวิธีนี้แพทย์จะใช้ส้อมเสียงความถี่ 512 Hz  แต่นักตรวจการได้ยินอาจทดสอบได้โดยใช้เครื่อง Audiometer โดยตั้งเครื่องมือให้เสียงออกทาง  Bone vibrator  ความถี่ 500 Hz และความดัง 35 dB  ก็สามารถนำไปทดสอบแทนส้อมเสียงได้  สำหรับวิธีการตรวจที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะพูดถึงการตรวจที่นิยมใช้ 2 วิธี คือ  Weber test  และ  Rinne test

ศูนย์การได้ยินเดียร์ มีบริการตรวจการได้ยิน เพื่อการวินิจฉัยอาการที่แม่นยำสำหรับรักษา และฟื้นฟูในลำดับต่อไป

  • บริการตรวจการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction)
  • บริการตรวจการได้ยินทางกระดูก (Bone Conduction Test)
  • บริการตรวจสภาพหูชั้นกลาง
  • บริการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (ABR : Auditory Brainstem Response) 
  • และบริการตรวจหาระดับการได้ยินจากก้านสมอง (ASSR : Auditory Steady State Response) 

ระดับการได้ยิน

การได้ยินปกติ สามารถได้ยินเสียงเบาๆ ระดับ 0-20 เดซิเบล (dB) เช่น เสียงน้ำหยด เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงนกร้อง

สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย  สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 20 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 40 เดซิเบล (dB) เริ่มมีปัญหาในการฟัง จับใจความสนทนายาก เนื่องจากพยัญชนะบางตัวขาดหายไป เช่น ผ ฝ พ ภ เป็นต้น จะมีคำพูดติดปาก เช่น หา? ว่าอะไรนะ? พูดอีกครั้งได้ไหมคะ? เป็นต้น

สูญเสียการได้ยินปานกลาง สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 40 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 60 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ปัญหาในการจับใจความสนทนาอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถได้ยินพยัญชนะ และเสียงสระ

สูญเสียการได้ยินมาก สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 60 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 75 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ปัญหาในการสนทนา และสื่อความหมายอย่างชัดเจน เนื่องจาก ไม่สามารถได้ยินเสียงสนทนาในระดับปกติ ต้องให้คู่สนทนาพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติ

สูญเสียงการได้ยินรุนแรง สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 75 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ถึง 90 เดซิเบล (dB) มีปัญหาในการฟัง ต้องตะโกนเสียงดัง บทสนทนาจึงจะพอได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินเสียงรอบๆตัวในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงโทรศัพท์ เสียงสุนัขเห่า เป็นต้น

สูญเสียการได้ยินรุนแรงมาก / หูหนวก สามารถได้ยินเสียงเบาที่สุด ในระดับ 90 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป ได้ยินแต่เสียงที่ดังมากๆ เช่น เสียงประทัด เสียงเครื่องบิน เสียงในดิสโก้เทค แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายสูง อาจจะพอได้ยินบ้าง แต่จะมีปัญหาในการแยกแยะเสียงได้

แบบทดสอบการได้ยินเบื้องต้น

  1. คุณรู้สึกว่าคนรอบข้างพูดเสียงค่อยกว่าปกติ?
  2. คุณรู้สึกว่าลำบากในการฟังเสียงพูดค่อยๆ?
  3. คุณรู้สึกเหนื่อยเมื่อฟังการสนทนาที่ยาวๆ?
  4. คุณพูดคำว่า “หา” หรือ “อะไรนะ” บ่อยๆ?
  5. คุณมีปัญหาในการเข้าใจการสนทนาในงานเลี้ยงบ่อยๆ?
  6. คุณมีปัญหาในการเข้าใจการสนทนาในที่ที่มีคนพลุกพล่าน?
  7. คุณมีปัญหาในการสนทนาผ่านโทรศัพย์มือถือ?
  8. คุณไม่ค่อยได้ยินเสียงนกร้อง เสียงลมพัด?
  9. คุณไม่ค่อยได้ยินเสียงโทรศัพท์ หรือ กริ่งประตูบ้าน?
  10. คนรอบข้างคุณมักจะบ่นว่า คุณเปิดเสียงทีวี หรือ วิทยุดังเกินไป?
  11. คนรอบข้างคุณคิดว่า คุณหูตึง หรือไม่?

*หากว่าคำตอบคือ “ใช่” ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป คุณควรเข้ารับการตรวจวัดระดับการได้ยิน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

นัดแก้ไขการได้ยิน(Audiologist) ดร.มุกดา พัฒนะเอนก

ประจำสำนักงานใหญ่ สาขาชลบุรี
วันจันทร์ – วันศุกร์ 09.00 – 17.00

นัดแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณ นภัสวรรณ ลีรัตนขจร

ประจำสาขาถนนสุโขทัย
วันจันทร์ – วันศุกร์ 09.00 – 17.00

นัดแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณ สุภานันท์ มูลมะณี

ประจำสาขาถนนสุโขทัย
วันเสาร์ 09.00 – 17.00g

นักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณศิรวัฒน์ ศรีจันทร์

ประจำสาขาชลบุรี
วันจันทร์, พุธ, ศุกร์ 17.00 – 19.00
วันเสาร์ 10.00 – 15.00

นักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณโสมวรรณ อรุณ

ประจำสาขาชลบุรี
วันอังคาร, พฤหัสบดี 09.00 – 17.00

นักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณพรพรรณ อัจฉริยะเสถียร

ประจำสาขาภูเก็ต
วันเสาร์ 09.00 – 17.00

นักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
คุณโสรยา สระศรี

ประจำสาขาหัวหิน
วันเสาร์ 09.00 – 17.00

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE