โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

เครื่องช่วยฟัง

(Hearing Aids)

คุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคของเครื่องช่วยฟัง

       เครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่นแต่ละแบบ มีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องต่างกันดังนั้นนักโสตสัมผัสวิทยาจำเป็นต้องทราบลักษณะเฉพาะเหล่านั้นในแต่ละเครื่อง เพื่อจะได้สามารถเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับระดับความพิการทางการได้ยินของผู้ป่วยแต่ละราย

คุณลักษณะเฉพาะของเครื่องช่วยฟังที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้

       1. SSPL 90 ( Saturation Sound Pressure Level 90 ) คือ ระดับความดังสูงสุดของเครื่องช่วยฟังในช่วงความถี่ 200 – 5 KHz เมื่อ
       1.1 ใส่สัญญาณเสียงเข้าเครื่องช่วยฟัง 90 dBSPL
       1.2 ปรับปุ่มเร่ง – ลดเสียงที่ความดังสูงสุด ( Full-on )
       1.3 เส้นกราฟแสดงระดับความดังในแต่ละความถี่เรียกว่า Saturation curve ( SSPL 90 )
       1.4 ค่าเฉลี่ยของ Saturation curve ที่ความถี่ 1K, 1.6K และ 2khz เรียกว่า High
Frequency Average SSPL 90 เขียนย่อว่า HFA SSPL 90
       โดยทั่วๆ ไปค่า SSPL 90 ไม่ควรเกินระดับความดังที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายหู ( Threshold of discomfort )และเครื่องช่วยฟังบางรุ่นอาจมีปุ่มปรับลด SSPL 90
       2. Acoustic Gain หรือ Full-on Gain คือ กำลังขยายของเครื่องช่วยฟังมีค่าเท่ากับความแตกต่างคิดเป็นเดซิเบลระหว่างสัญญาณเสียงออก ( output ) ที่ผ่านการขยายแล้วของเครื่องช่วยฟังกับสัญญาณเสียงเข้า การวัดค่า acoustic gain กระทำโดย
       2.1 ปรับปุ่มเร่ง – ลด เสียงที่ความดังสูงสุด ( Full-on )
       2.2 ใส่สัญญาณเสียงเข้าเครื่องช่วยฟัง 60 dBSPL แต่ในกรณีที่เครื่องช่วยฟังมีวงจรพิเศษควบคุมกำลังขยายอัตโนมัติ เช่น AGC, ARC จะใช้ความดังเพียง 50 dBSPL
       2.3 ค่าเฉลี่ยของ acoustic gain ที่ความถี่ 1K, 1.6K และ 2.5khz เรียกว่า High Frequency Average Full-on Gain การเลือกขนาด gain ของเครื่องช่วยฟังจะแปรผันตามระดับการสูญเสียการได้ยิน เช่น สูญเสียการได้ยินน้ อยใช้ gain น้อย และสูญเสียการได้ยินมากจะใช้ gain สูงขึ้น
       3. Frequency Response Curve คือ กราฟแสดงกำลังขยายหรือ gain ของเครื่องช่วยฟังในแต่ละความถี่ ซึ่งเครื่องช่วยฟังต่างชนิดและต่างรุ่นกันให้กำลังขยายแต่ละความถี่ไม่เท่ากัน ในสถานการณ์จริงของการใช้เครื่องช่วยฟังผู้ป่วยจะไม่เปิดความดังสูงสุด ( Full-on ) ดังนั้นการทดสอบ Frequency response curve จะปรับตั้งปุ่มเร่ง-ลดความดังที่ตำแหน่ง Reference Test Gain ( RTG ) ซึ่งเป็นระดับความดังที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง
       4. Frequency Range คือ ช่วงความถี่ที่เครื่องช่วยฟังขยายเสียง เครื่องช่วยฟังบางรุ่นอาจมี frequency range กว้าง บางเครื่องขยายความถี่สูงและบางเครื่องขยายความถี่ต่ำ การหาค่า frequency range ให้พิจารณาจาก frequency response curve เฉลี่ยในช่วงความถี่สูง ( HFA ) ลบด้วย 20 dB แล้วลากเส้นขนานกับแกนความถี่ไปตัดกับ frequency response curve 2 จุดที่ความถี่ต่ำและความถี่สูง ช่วงความถี่ระหว่าง 2 จุดนี้เรียกว่า Frequency Range
       5. Reference Test Gain ( RTG ) คือ ระดับกำลังขยายอ้างอิงที่ได้จากการปล่อยสัญญาณเข้า 60 dBSPL แล้วปรับปุ่มเร่ง-ลดความดังจนได้กราฟของระดับความดังเฉลี่ยที่ความถี่ 1K, 1.6K และ 2.5khz ต่ำกว่า HFA SSPL 90 17 dB
       6. Harmonic Distortion คือ สัญญาณเสียงที่ออกมาจากการขยายเสียง ( output ) มีลักษณะต่างไปจากสัญญาณเสียงก่อนการขยาย ( input ) โดยมีค่าเท่ากับจำนวน overtones หรือ harmonics ของ fundamental frequency ของสัญญาณเสียงเข้าการวัด harmonic distortion คิดเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ที่ความถี่ 500, 800 และ 1600 Hz ถ้าเปอร์เซนต์ของความเพี้ยนสูงแสดงว่า เครื่องช่วยฟังเครื่องนั้นมีคุณภาพเสียงไม่ดี และโดยทั่วๆ ไปค่าความเพี้ยนนี้จะน้อยกว่า 15%
       7. ความสิ้นเปลืองแบตเตอรี่ ( Battery current ) เครื่องช่วยฟังแต่ละเครื่องใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน การปรับปุ่มเร่งความดังมากเกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มากยิ่งขึ้น เมื่อต้องการทราบว่าแบตเตอรี่จะใช้งานได้นานเพียงใด ท่านจะต้องทราบว่าแบตเตอรี่ของท่านมีความจุไฟฟ้ากี่มิลลิแอมป์ชั่วโมง ( mAh ) และเครื่องช่วยฟังกินไฟเท่าใด การทดสอบว่าเครื่องช่วยฟังกินไฟมากน้อยแค่ไหน กระทำโดยใช้เครื่องทดสอบเครื่องช่วยฟังตั้งมุมเร่งลดความดังของเครื่องช่วยฟังที่ตำแหน่ง reference test gain และใช้สัญญาณเสียงเข้าความถี่ 1000 Hz ความดัง 65 dBSPL ตามปกติ ค่าเฉลี่ยการกินไฟของเครื่องช่วยฟังประมาณ 0.2 – 5.0 มิลลิแอมป์ แต่ถ้าเป็นเครื่องช่วยฟังแบบกล่องบางรุ่นอาจกินไฟ 15 – 20 มิลลิแอมป์ เมื่อนำค่าอัตราการกินไฟของเครื่องช่วยฟังไปหารความจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะทำให้ทราบจำนวนชั่วโมงการใช้งานของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่มีความจุไฟฟ้า 250 มิลลิแอมป์ชั่วโมง และอัตราการกินไฟของเครื่องช่วยฟังกว่ากับ 2 มิลลิแอมป์ฉะนั้นจำนวนชั่วโมงการใช้งานของแบตเตอรี่จะเท่ากับ 125 ชั่วโมง

ชนิดของเครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟังแต่ละแบบมีรูปร่างต่างกัน แต่มีส่วนประกอบพื้นฐานและวิธีการทดสอบเหมือนกัน
       1. Body hearing aids เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าเครื่องช่วยฟังชนิดอื่น ภายในกล่องมีส่วนของไมโครโฟนและเครื่องขยายเสียงรวมอยู่ด้วยกัน โดยมีสายต่อ ( Cord ) ไปยังหูฟัง ( receiver ) ตัวกล่องเครื่องช่วยฟังใช้เหน็บติดกระเป๋าเสื้อ เครื่องช่วยฟังชนิดนี้มีกำลังขยายสูงจึงเหมาะสำหรับเด็กและคนชรา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องช่วยฟังแบบกล่องก็มีข้อเสีย เช่นกัน คือ ไมโครโฟนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งรับเสียงตามธรรมชาติ
       2. Behind the ear hearing aids ( BTE ) เป็นเครื่องช่วยฟังแบบคล้องหลังใบหู ตัว เครื่องมีขนาดเล็กกว่าแบบกล่อง ภายในเครื่องช่วยฟังมีส่วนประกอบของไมโครโฟน เครื่องขยายเสียงและลำโพงรวมอยู่ด้วยกัน ใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็ก จากปลายท่อโค้ง ( ear hook ) ของเครื่องช่วยฟัง มีท่อพลาสติกต่ออยู่ทำหน้าที่นำเสียงเข้าสู่ช่องหูโดยผ่านทางพิมพ์หู ( ear mold) ข้อดีของเครื่องช่วยฟังแบบนี้คือตำแหน่งการรับเสียงใกล้เคียงธรรมชาติเพราะมีไมโครโฟนอยู่เหนือใบหู
       3. Eyeglass hearing aids เป็นเครื่องช่วยฟังแบบแว่นตา ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียงและลำโพงฝังอยู่ในขาแว่นตา จากลำโพงจะมีท่อพลาสติกนำเสียงเข้าสู่หูผ่านทางพิมพ์หู เครื่องช่วยฟังแบบนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสายตาร่วมด้วยและจำเป็นต้องใช้แว่นตาเป็นประจำ นอกจากนี้ยังใช้กับผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยฟังในระบบ CROS ได้อีกด้วย
       4. In the ear hearing aids ( ITE ) เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กที่มีส่วนของไมโครโฟนเครื่องขยายเสียงและลำโพงรวมอยู่ในส่วนเดียวกัน ตัวเครื่องจะสอดอยู่ในอุ้งหู ( concha ) ถือว่าเป็นเครื่องช่วยฟังที่มีตำแหน่งการรับเสียงเป็นธรรมชาติมาก
       5. In the canal hearing aids ( ITC ) เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็กกว่า ITE มีส่วนประกอบพื้นฐานทั้งสามส่วนรวมอยู่ด้วยกัน และตัวเครื่องสอดอยู่ในช่องหูที่ส่วนต้น
       6. Completely in the canal hearing aids ( CIC ) เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็กที่สุดตัวเครื่องจะสอดลึกเข้าไปในช่องหู

       นอกจากนี้ยังมีเครื่องช่วยฟังแบบพิเศษอื่นๆ อีกหลายแบบ เช่น
เครื่องช่วยฟังระบบ CROS ( Contralateral Routing of Signal )
       เป็นเครื่องช่วยฟังที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีการได้ยินดีหนึ่งข้าง ส่วนหูอีกข้างใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ เทคนิคของระบบ CROS คือ นำไมโครโฟนไปรับเสียงจากหูข้างที่เสีย แล้วนำเสียงมาขยายและ
ส่งออกลำโพงเข้าสู่หูข้างที่ดี เครื่องช่วยฟังระบบนี้อาจเป็นแบบ BTE, Eyeglass หรือ ITE ก็ได้ อีกรูปแบบหนึ่งของระบบ CROS ได้แก่ BICROS ใช้กับผู้ป่วยที่หูข้างดีมีปัญหาด้านการได้ยิน
จึงต้องได้รับการขยายเสียงในหูข้างดีด้วย
เครื่องช่วยฟังแบบนำเสียงทางกระดูก ( Bone conduction hearing aids )
       ใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินแบบ Conductive hearing loss มีของเหลวหรือหนองไหลออกทางหูตลอดเวลาหรือไม่มีช่องหู เครื่องช่วยฟังที่ใช้การนำเสียงเข้าสู่หูทางกระดูกมี 2 แบบได้แก่ Body aids และ Eyeglass aids
Cochlear Implant
       มีลักษณะต่างจากเครื่องช่วยฟังทั่วๆ ไป จะใช้กับผู้ป่วย Profound hearing loss ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟังแบบธรรมดา ( Conventional hearing aids ) แพทย์จะผ่าตัดฝัง
electrode ไว้ใน cochlea เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทหู ( auditory nerve ) โดยตรง ทำให้ได้ยินเสียง ( awareness of sound )

วิวัฒนาการของเครื่องช่วยฟัง

       ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ได้สร้างความยากลำบากให้กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานมนุษย์สมัย โบราณรู้จักใช้มือป้องหลังใบหู เพื่อให้ได้ยินเสียงดังขึ้น แต่ช่วยให้ได้ยินเสียงดังขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต่อมามนุษย์ได้รู้จักใช้อุปกรณ์ที่ทำจากเขาสัตว์เพื่อช่วยให้ได้ยินดีขึ้น โดยนำเขาวัวหรือเขาควายมาเจาะรูเล็กๆ ที่ปลายเขา แล้วสอดรูเล็กๆ เข้าไปในหูเวลาฟังเสียงหรือให้ผู้พูดพูดตรงโคนเขา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่จะช่วยให้ได้ยินเสียงดังขึ้นเช่นกัน อุปกรณ์ขยายเสียงที่ทำจากเขาสัตว์นี้เรียกว่า acoustic horn เนื่องจากภายในเขาสัตว์ที่มีรูกรวงเป็นรูปกรวยขรุขระไม่เรียบ ทำให้เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นเสียง มนุษย์จึงคิดประดิษฐ์เครื่องขยายเสียงขึ้นใช้เองโดยทำจากโลหะในระยะเริ่มแรกเป็นเครื่อง ช่วยฟังแบบไม่ใช้ไฟฟ้า ( Mechanical aids )

       โดยใช้หลักการเช่นเดียวกับเขาสัตว์คือทำเป็นรูปกรวย มีช่องรับเสียงทางด้านปากแตร จากปากแตรท่อจะค่อยๆ เรียวเล็กลง และปลายที่เล็กที่สุดจะเป็นทางนำเสียงเข้าสู่หู คลื่นเสียงภายในท่อจะเกิดการกำธรทำให้เสียงดังขึ้น ในขณะเดียวกันตัวท่อก็ทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อม เครื่องช่วยฟังชนิดนี้ได้ประดิษฐ์ให้มีรูปร่างต่างๆกัน เพื่อปกปิดหรือซ่อนบังความพิการเช่น ear trumpet, acoustic chair, speaking tube, vase doubling และ acoustic fan เป็นต้น

       อย่างไรก็ตามเครื่องช่วยฟังแบบเก่าที่กล่าวไปแล้ว ยังไม่มีส่วนประกอบใดทำงานเกี่ยวกับการขยายเสียง จนกระทั่งมีการค้นพบโทรศัพท์ จึงได้นำเอาไมโครโฟนและหูฟังของโทรศัพท์ไปใช้ในการประกอบเป็นเครื่องช่วยฟังแบบใช้ไฟฟ้าในระยะแรกเป็นระบบการขยายเสียงแบบใช้เม็ดคาร์ – บอน ( carbon amplifier ) เครื่องช่วยฟังที่ได้มีกำลังขยายสูงขึ้น และถ้าต้องการกำลังขยายสูงกว่านี้จะต่อไมโครโฟนหลายตัวขนานกัน แต่เครื่องช่วยฟังแบบนี้มีข้อเสียในเรื่องมีเสียงรบกวนมากทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

       เมื่อมีการค้นพบหลอดวิทยุหรือหลอดสูญญากาศ ทำให้การขยายเสียงจากไมโครโฟนแล้วขับออกสู่ลำโพงหรือหูฟังได้เสียงที่มีคุณภาพดีขึ้น กำลังขยายสูงขึ้น แต่เครื่องช่วยฟังแบบหลอดสูญญากาศต้องการพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้มีขนาดเล็กลง และสามารถประกอบเป็นเครื่องช่วยฟังแบบกล่องถ่านมีขนาดใหญ่โตเกินไป จนต้องตั้งไว้บนโต๊ะไม่สามารถพกพาได้ จนกระทั่ง
หลอดสูญญากาศได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง และสามารถประกอบเป็นเครื่องช่วยฟังแบบกล่องได้ แต่ยังไม่สะดวกสบายเท่าในปัจจุบัน

       การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของเครื่องช่วยฟังได้เกิดขึ้นภายหลังการค้นพบทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสารกึ่งตัวนำ ( semiconductor ) ทำให้ได้เครื่องช่วยฟังขนาดเล็กลง มีกำลังขยายสูงขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อย
แต่เทคโนโลยี่ของทรานซิสเตอร์ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ได้มีการนำทรานซิสเตอร์หลายตัวและส่วนประกอบต่างๆ มาย่อรวมอยู่บนฐานเดียวกัน เรียกว่า อินทีเกรต เซอร์กิต ( integratedcircuit หรือ IC ) ซึ่งมีใช้ในเครื่องช่วยฟังยุคปัจจุบัน

การเตรียมข้อมูลด้านตรวจการได้ยินเพื่อพิจารณาเครื่องช่วยฟัง

       เครื่องช่วยฟังจะพิจารณาใส่ให้กับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีกว่าตั้งแต่ 30 dB ขึ้นไป และผู้ป่วยที่จะใส่เครื่องช่วยฟังทุกรายควรได้รับการตรวจการได้ยินอย่างละเอียด ดังนี้
       1. ตรวจ Routine audiometry ประกอบด้วยการตรวจ
          1.1 Speech Reception Threshold ( SRT )
          1.2 Speech Discrimination ( SD )
          1.3 Puretone Air Conduction Audiometry
          1.4 Puretone Bone Conduction Audiometry
       2. ตรวจ Most Comfortable Level ( MCL )
       3. ตรวจ Uncomfortable Level ( UCL )
       4. พิจารณา Dynamic Range คือ ช่วงกว้างระหว่างการเริ่มได้ยินเสียงของผู้ป่วยถึงระดับความดังที่ได้ยินเสียงแล้วรู้สึกไม่สบายหู ค่านี้หาได้จาก UCL – SRT

การใส่เครื่องช่วยฟังสองหูกับหูเดียว
       การได้ยินเสียงทั้งสองหู ย่อมดีกว่าได้ยินเพียงหูข้างเดียวด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยที่หูพิการทั้งสองข้าง จะได้รับคำแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟังสองข้าง และผู้ป่วยที่หูพิการข้างเดียวอีกข้างปกติก็จะแนะนำ
ให้ใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างที่พิการเช่นเดียวกัน

ข้อดีของการใส่เครื่องช่วยฟังสองข้าง
       ผู้ป่วยที่มีหูพิการทั้งสองข้าง การแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟังสองหูมีข้อดี ดังนี้
1. ทำให้รู้สึกได้ยินเสียงทั้งสองข้างเสมอกัน ( balauce hearing ) และช่วยให้ทราบทิศทางของเสียง
2. เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน การใส่เครื่องช่วยฟังทั้งสองข้างจะช่วยให้เข้าใจคำพูดได้ดีขึ้น
3. ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ( Relax ) มากกว่าการใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียวเพราะผู้ป่วยไม่ต้องคอยตั้งใจฟัง หรือหันหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังเข้าหาคู่สนทนา
4. การใส่เครื่องช่วยฟังทั้งสองข้างจะช่วยให้ได้ยินเสียงดังกว่าการใส่ข้างเดียว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องปรับปุ่มเร่งความดังเท่ากับการใส่ข้างเดียว
5. ทำให้คุณภาพของเสียงดีขึ้น ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกใกล้เคียงธรรมชาติมาก

การทดลองเครื่องช่วยฟังให้กับผู้ป่วย
       การเลือกเครื่องช่วยฟังให้กับผู้ป่วย นักโสตสัมผัสวิทยาจะต้องระลึกไว้เสมอว่า เครื่องช่วยฟังเป็นเพียงเครื่องมือช่วยให้ได้ยินเสียงดังขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เครื่องช่วยรักษาการได้ยินให้ดีขึ้น หรือ
ใช้แทนการได้ยินได้ทั้งหมด เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้คนหูพิการได้ยินชัดขึ้น หรือใช้แทนการได้ยินได้ทั้งหมด เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้คนหูพิการได้ยินชัดขึ้นและสบายขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่สามารถช่วย
ให้การได้ยินกลับคืนเป็นปกติได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยหูพิการเหมือนกันอาจต้องการเครื่องช่วยฟังที่มีคุณสมบัติทาง electro acoustic ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วย 2 รายมี audiogram เหมือนกันอาจ
ชอบเครื่องช่วยฟังต่างกันได้

การเลือกเครื่องช่วยฟังมีขั้นตอนดังนี้
       1. การเลือกแบบของเครื่องช่วยฟัง
การเลือกแบบของเครื่องช่วยฟัง มีองค์ประกอบหลายประการเพื่อช่วยในการพิจารณา ได้แก่ ความต้องการกำลังขยายความสะดวกในการพกพา ความยืดหยุ่นได้ ราคา ความสวยงามและความพอใจของผู้ใช้ เครื่องช่วยฟังแบบ ITC และ ITE เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดและสามารถใช้ได้กับการสูญเสียการได้ยินเกือบทุกระดับ แต่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางรายมีความต้องการอุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษอาจทำให้มีข้อจำกัดในการเลือกแบบของเครื่องช่วยฟัง

       2. การเลือกลักษณะทาง electro-acoustic
ครั้งหนึ่งการเลือกแบบของเครื่องช่วยฟังจะเลือกจากรูปแบบของวงจร และ / หรือเลือกจากรุ่นของเครื่องช่วยฟังโดยขึ้นอยู่กับกับข้อมูลที่ได้จากการทดสอบการได้ยิน ถึงแม้ว่าเครื่องช่วยฟังบางเครื่องมีปุ่มปรับต่างๆ ที่สามารถทำให้เครื่องช่วยฟังมีความยืดหยุ่นได้สูง แต่ปุ่มควบคุมเหล่านี้ก็ปรับได้ในช่วงจำกัดซึ่งทำให้เลือกเครื่องช่วยฟังยังคงขึ้นอยู่กับการสูญเสียการได้ยิน
          2.1 การเลือก Frequency Response
โดยหลักทั่วๆ ไปจะเลือก Frequency response ของเครื่องช่วยฟัง ให้สัมพันธ์กับช่วงความถี่สูญเสียการได้ยิน
          2.2 การเลือกแบบวงจรของเครื่องช่วยฟัง
          2.2.1 วงจรแบบ Linear
การเลือกรูปแบบวงจรที่เหมาะสม หรือรุ่นของเครื่องช่วยฟังถือว่ามีความสำคัญมากในการใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่ใช้วงจรแบบ Linear ที่ให้กำลังขยายคงที่ตลอดไม่ว่าระดับความดังของสัญญาณเข้าจะเป็นเท่าใด ตัวอย่างเช่น สัญญาณเข้าดัง 50 dB ให้สัญญาณออก 80 dB แสดงว่าเครื่องช่วยฟังมีกำลังขยาย 30 dB ถ้าสัญญาณเข้าเปลี่ยนเป็น 60 dB แต่กำลังขยายคงเดิมจะได้สัญญาณออกเป็น 90 dB ตามตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นวงจรแบบ Linear ที่มีกำลังขยาย 30 dB ( gain ) จะให้ความดังสูงสุด ( maximum output ) 107 dBSPLเครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่ใช้วงจรแบบ Linear เหมาะสำหรับคนหูพิการเล็กน้อยถึงหูพิการมาก (mild to moderately severe) และถ้าผู้ป่วยไม่มีปัญหาเรื่องความอดทนต่อเสียงดัง (recruitment) จะได้รับคำแนะนำให้ใช้วงจรแบบ Linear
          2.2.2 วงจรแบบ Compression
ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางคนที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงมาก ( mild to moderately severe ) จะมีความยากลำบากในการปรับเสียงดัง ผู้ป่วยมักบ่นว่าเมื่อเครื่องช่วยฟังปรับให้ได้ยินเสียงพูดกำลังพอดีแล้ว แต่จะได้ยินเสียงอื่นๆ ดังแรงเกินไป ผู้ป่วยประเภทนี้ควรใช้เครื่องช่วยฟังที่มีวงจรพิเศษแบบ compression วงจรนี้บางครั้งเรียกว่า Automatic Gain Control ( AGC ) วงจร compressionจะช่วยลดความดังของสัญญาณเสียงออกให้สัมพันธ์กับความดังของสัญญาณเข้า ในวงจรแบบ input compression จะมีอุปกรณ์จับระดับความดังทำหน้าที่ควบคุมความดังที่สัญญาณเข้า ( input ) ของ
เครื่องช่วยฟัง เมื่อสัญญาณเข้าดังเกิน kneepoint กำลังขยาย ( gain ) จะลดลง การปรับปุ่ม เร่ง-ลด ความดังให้ดังขึ้นจะทำให้สัญญาณออกดังเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับวงจรแบบ output compression อุปกรณ์จับระดับความดังจะควบคุมความดังที่สัญญาณออกของเครื่องช่วยฟัง
          การ compress สัญญาณเข้าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนขึ้นอยู่กับการเลือก Input หรือ Output compression การเลือก kneepoint และการเลือก compression ratio
          2.2.3 วงจรแบบ Push-Pull
วงจรแบบ Linear และ compression อาจให้กำลังขยายเพียงพอกับผู้ใช้เครื่องช่วยฟังที่หูพิการรุนแรงถึงหูหนวก ( Severe to Profound ) ผู้ป่วยหูพิการระดับนี้ต้องใช้วงจรพิเศษแบบ Push-Pull วงจรพิเศษลักษณะนี้สัญญาณจะถูกแบ่งออก ถูกขยายแล้วกลับมารวมกันอีกครั้ง วงจร Push-Pull ไม่สามารถทำนายการสิ้นเปลืองแบตเตอรี่ได้เพราะอัตราเร็วของการใช้ไฟขึ้นอยู่กับระดับความดังของสัญญาณเข้า และการปรับปุ่มเร่ง-ลดความดัง กำลังขยายของเครื่องช่วยฟังแบบ Push-Pull ประมาณ 45 – 80 dB
          2.2.4 วงจรแบบ Automatic Signal Processing ( ASP )
ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางคนอาจบ่นว่าได้ยินชัดเจนดีในที่เงียบ แต่บางสถานการณ์เช่น ที่มีเสียงรบกวนเขาต้องการได้ยินชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีปุ่มปรับต่างๆ มากมายให้นักโสตสัมผัสวิทยาสามารถปรับได้ตามต้องการ และอาจมีบางวงจรสามารถปรับได้โดยอัตโนมัติในสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน เครื่องช่วยฟังลักษณะนี้เรียกว่า Automatic Signal Processing circuit ( ASP ) วงจรนี้ได้แสดงให้เห็นดังรูปเป็นวงจรลดความดังที่ความถี่ต่ำ เมื่อความดังของสัญญาณเข้าแรงขึ้น เนื่องจากเสียงในสิ่งแวดล้อมมีความถี่ต่ำ การทำงานของวงจรนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังได้ยินชัดเจนขึ้นในที่มีเสียงรบกวน
       2.3 การเลือกกำลังขยาย ( GAIN )
การเลือกกำลังขยายของเครื่องช่วยฟังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบจำนวนหนึ่ง การพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาว่าถ้าหูพิการ 50 dB ก็ควรใช้กำลังขยาย 50 dB เช่นกัน แต่การใส่เครื่องช่วยฟังไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพบว่าระดับการรับฟังเสียงที่สบายที่สุดต้องการกำลังขยายเพียง 1/2 ถึง 1/3 ของความพิการเท่านั้น ถึงแม้ว่าเครื่องช่วยฟังเกือบทั้งหมดมีปุ่มปรับเร่ง-ลดความดังเพื่อใช้ควบคุมกำลังขยาย ( gain ) แต่จุดมุ่งหมายของการเลือกกำลังขยายจะให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังปรับปุ่มความดังประมาณ 1/2 เพื่อให้สามารถปรับเพิ่มหรือลดความดังได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกัน พิจารณาเลือกกำลังขยายมีหลายวิธีประกอบด้วย National Acoustic Labs ( NAL ) , Prescription of Gain and Output ( POGO ) , Berger, และ Libby วิธีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลของระดับการได้ยินที่ใช้ในการพิจารณากำลังขยายของเครื่องช่วยฟัง ปรับตั้งกำลังขยายจนได้ยินเสียงพูดทั้งหมดกำลังสบาย สำหรับสูตรของ NAL และ Libby ใช้กำลังขยายประมาณ 1/3 ในขณะที่สูตรของ POGO และ Berger ใช้กฏของกำลังขยาย 1/2
       2.4 การเลือกความดังสูงสุด ( Maximum Output )
การเลือกความดังสูงสุด ( maximum output หรือ SSPL 90 ) ขึ้นอยู่กับข้อมูล UCL โดยมีจุดมุ่งหมายว่า เครื่องช่วยฟังจะไม่ขยายเสียงดังเกิน UCL ของผู้ป่วย การคำนาณ SSPL 90 จาก UCL ที่วัดเป็น dBHL ให้เป็น dBSPL มีสูตรดังนี้ dBHL สำหรับเสียงพูด +20 = dBSPL เช่น ผู้ป่วยมี UCL 90 dBHL ดังนั้นความดังสูงสุดไม่ควรเกิน 110 dBSPL
ในการพิจารณา UCL กับ SSPL 90 มีสิ่งหนึ่งที่นักโสตสัมผัสวิทยาจะต้องระลึกไว้เสมอว่าความดังสูงสุดและกำลังขยายจะต้องสอดคล้องกัน เพราะเป็นไปไม่ได้ที่กำลังขยาย 45 dB จะให้ความดังสูงสุดเพียง 100 dBSPL เนื่องจากการวัดความดังสูงสุดจะใช้สัญญาณเข้า 60 dB ดังนั้น สัญญาณออกจะเท่ากับ 60 + 45 = 105 dB ซึ่งเกิน 100 dB SSPL 90 ไป 5 dB ซึ่งถ้าต้องการ
จำกัดความดังสูงสุดที่ 100 dB อาจตัองพิจารณาใช้วงจรพิเศษแบบ Compression
       3. การเลือก options
ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางคนต้องการเครื่องช่วยฟังที่มีวงจรพิเศษเช่น Telecoil โดยการปรับสวิทซ์ไปที่ T เพื่อให้เครื่องช่วยฟังสามารถรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้โดยตรง ทำให้ผู้ใช้
เครื่องช่วยฟังสามารถรับสัญญาณจากโทรศัพท์ได้โดยตรงโดยไม่ถูกรบกวนจากเสียงในสิ่งแวดล้อมและไม่มี feedback จากเครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟังบางเครื่องมีสวิทซ์สำหรับปรับให้ไมโครโฟนและ Telecoil ทำงานในเวลาเดียวกัน ( MT ) Telecoil มักไม่ค่อยมีในเครื่องช่วยฟังแบบ ITEและ ITC
       อีก option หนึ่งได้แก่ Direct audio input มีลักษณะเป็นเต้าเสียบ สำหรับรับสัญญาณเสียงทางสายที่ต่อเข้ากับเครื่องช่วยฟัง เช่น จากเครื่องมือฝึกฟัง เครื่องเล่นเทปหรือโทรทัศน์ จะช่วยให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังได้ยินเสียงชัดเจนขึ้นผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางรายอาจแพ้สารทำพิมพ์หู การแพ้อาจมีอาการ เจ็บหู หูบวมแดง มีน้ำไหล และ / หรือมีสะเก็ดผิดหนังลอกใน concha ผู้ป่วยประเภทนี้อาจต้องใช้สาร hypo-allergenicmaterial ทำพิมพ์หูแทน
นอกจากนี้บนเครื่องช่วยฟังยังอาจมีปุ่มปรับต่างๆ เพื่อการปรับเครื่องช่วยฟังอย่างละเอียด ปุ่มปรับเหล่านี้ได้แก่ maximum output, gain, low tone, high tone เป็นต้น เครื่องช่วยฟังแบบ BTE , Eyeglass และ Body aids จะมีปุ่มปรับเป็นมาตรฐาน แต่ในเครื่องช่วยฟังแบบ ITE และ ITC จะต้องส่งเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ในกรณีที่เอกสารแสดงคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องช่วยฟังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “ ช่วงการใส่เครื่องช่วยฟัง ” ( Fitting range ) มาด้วย จะทำให้การเลือกเครื่องช่วยฟังสะดวกยิ่งขึ้น โดย…
       1. เลือกเครื่องช่วยฟังที่มี Fitting range เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วย
       2. เลือกเครื่องช่วยฟังที่ให้ SSPL 90 ไม่เกิน UCL ของผู้ป่วย
       3. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเรื่อง Recruitment ควรเลือกเครื่องช่วยฟังรุ่นที่มีวงจร compression
       4. Options อื่นๆ ควรเลือกตามความเหมาะสมดังได้กล่าวไปแล้ว

การใส่เครื่องช่วยฟังให้กับผู้ป่วย

       ครั้งหนึ่งการใส่เครื่องช่วยฟังให้สมบูรณ์แบบมีความสำคัญอยู่ที่การคัดเลือกแบบวงจรที่ดีที่สุดและการเลือก option ที่ให้ประโยชน์สูงสุด แต่บางครั้งข้อบ่งชี้ที่สำคัญเพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเลือกเครื่องช่วยฟังต้องอาศัยการรายงานผลหรือการบอกกล่าวจากผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง สำหรับการทดสอบด้วยเครื่อง Real Ear โดยการปรับเครื่องช่วยฟังให้ถูกต้องกับ Target อาจมีผู้ป่วยบางรายบ่นว่า คุณภาพของ Tone ยังไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีเช่นนี้ผู้ตรวจควรปรับเครื่องช่วยฟังอีกให้ดีที่สุดซึ่งดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย เพราะยึดถือว่า Real ear gain ให้ผลถูกต้องแล้ว

การทดสอบเครื่องช่วยฟังด้วย Sound field
       การทดสอบเครื่องช่วยฟังด้วยวิธี sound field จำเป็นต้องมีเครื่องตรวจการได้ยิน ( Pure tone autiometer ) ทำให้เสียง warble tones และมีลำโพง ( speaker ) โดยให้ผู้ป่วยนั่งตรงจุดที่ได้ calibrate ไว้แล้ว และทดสอบหาระดับการได้ยินด้วยเสียง warble tones โดยปล่อยเสียงผ่านลำโพงในขณะที่ผู้ป่วยไม่ใส่และใส่เครื่องช่วยฟัง การทดสอบนี้เรียกว่า “ การทดสอบ Functional gain ” แล้วบันทึกผลลงบนตาราง audiogram ดังตัวอย่าง แสดง functional gain ของหูข้างซ้าย เมื่อพิจารณาในแต่ละความถี่ ค่า functional gain มีค่าดังนี้ :

20 dB ที่ 250 Hz
45 dB ที่ 500 Hz
55 dB ที่ 1000 Hz
45 dB ที่ 2000 Hz
และ 25 dB ที่ 4000 Hz

       บ่อยครั้งที่นักโสตสัมผัสวิทยาจะทดสอบความสามารถในการฟังเข้าใจคำพูด ( Speech discrimination ) เมื่อใส่และไม่ใส่เครื่องช่วยฟังด้วยระบบ sound field เพื่อแสดงให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์ที่เขาได้รับจากการใส่เครื่องช่วยฟัง ปกติจะทดสอบด้วยคำพูดที่ระดับความดังของการพูดสนทนาทั่วๆ ไปประมาณ 50 dBHL โดยปล่อยเสียงรบกวนเบากว่า 5 -10 dB ตามตัวอย่างนี้ ผู้ป่วยจะไม่ได้ยินเสียงพูดเมื่อไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง แต่จะได้ยินเมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง

การทดสอบเครื่องช่วยฟังด้วยเครื่อง Real Ear measurement
       การเลือกเครื่องช่วยฟังวิธีที่ดีที่สุดคือ การทดสอบด้วยเครื่อง Real Ear ตามปกติการทดสอบคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟังทั้งหมดจะกระทำใน 2 cc coupler ซึ่งจะไม่เหมือนกับการทำงานของเครื่องช่วยฟังในหูจริงๆ ในความเป็นจริงจะไม่มี coupler อันใดสามารถให้การตอบสนองของเครื่องช่วยฟังเหมือนหูจริงๆ เพราะหูแต่ละคนแตกต่างกัน วิธีทดสอบด้วย Real Ear จะช่วยให้ผู้ตรวจมองเห็นกำลังขยายและความดังสูงสุดของเครื่องช่วยฟังขณะทดสอบในหูผู้ป่วย ซึ่งบันทึกการทำงานผ่านทางไมโครโฟนเล็กๆ ที่สอดเข้าไปในช่องหู เป็นการทดสอบที่ให้ผลดีกว่าการตรวจด้วย functional gain ในหลายๆ ด้าน เช่น ไม่ต้องการการตอบสนองจากผู้ป่วย จึงสามารถทดสอบได้กับเด็กเล็กหรือคนที่ไม่ตอบสนองต่อเสียง puretone สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงความดังเพียงเล็กน้อยขนาด 2 -10 dB ได้โดยที่การตรวจแบบ Behavior ทำไม่ได้ และการตรวจแบบ Real Ear สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็วและให้ผลถูกต้อง

       การทดสอบ Real ear ประกอบด้วยชุดของเส้นกราฟ กราฟแรกเรียกว่า Real Ear
Unaided Response ( REUR ) เป็นการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นภายในช่องหูเมื่อไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังโดยปล่อยเสียงแบบ sound field ไปยังจุดวัดใกล้เยื่อแก้วหูจากรูปจะเห็นลักษณะการกำธรของเสียงใน concha และในช่องหูทำให้มี SPL เพิ่มขึ้นที่
ความถี่ 2500 ถึง 3000 Hz การวัด REUR มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ เพื่อคำนวณ Insertiongain และทำนาย Frequency Response และ gain ที่ต้องการ

       การทดสอบขั้นต่อไปคือ การตรวจ Real Ear occluded Response ( REOR ) เป็น
การแสดงการเปลี่ยนแปลงใน REUR เมื่อช่องหูถูกปิดด้วยเครื่องช่วยฟังหรือพิมพ์หู REOR
หาได้โดยใส่เครื่องช่วยฟังแต่ปิดเครื่อง ให้สังเกตุกราฟโดยเปรียบเทียบกับ REUR กราฟ
REOR จะต่ำกว่าโดยเฉพาะที่ความดี่เหนือ 2000 Hz ความแตกต่างระหว่าง REUR กับ
REOR คือ “ Insertion Loss ” ซึ่งเป็นการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากการใส่เครื่องช่วยฟัง

       ข้อมูลสำคัญถัดไปที่ได้จากการทดสอบ Real Ear คือ Real Ear Aided Response ( REAR ) หมายถึง ความดังของเครื่องช่วยฟัง ( dBSPL ) ที่วัดในช่องหูเมื่อใส่เครื่องช่วยฟังและเปิดเครื่องช่วยฟังบางครั้งเรียกว่า “ Aided Response ” การทดสอบนี้คล้ายกับการวัดความดังที่วัดจากความดังที่วัดจาก 2 cc coupler เว้นแต่ใช้หูผู้ป่วยแทนcoupler REAR ใช้บ่อยมากเพื่อทำนายความดังของเครื่องช่วยฟังในหูสำหรับสถานการณ์การฟังแบบปกติ และประโยชน์อีกแบบของ REAR ใช้คำนวณ Real Ear Insertion Res-ponse ( REIR ) ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างREAR กับ REUR

       Real Ear Insertion Response เป็นกราฟอันสุดท้ายบางครั้งเรียกว่า “ Insertion gain” การทดสอบนี้เหมือนกับการทดสอบ Functional gain แต่ REIR เป็นความแตกต่างระหว่าง SPL ในช่องหูเมื่อผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยฟังกับไม่ได้ใส่ซึ่งคำนวณได้จาก REAR – REUR
REIR มีประโยชน์ในการพิจารณาว่า เครื่องช่วยฟังให้กำลังขยายเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วยหรือไม่ โดยนำ REIR ไปเปรียบเทียบกับ Target ของผู้ป่วยที่คำนวณได้จากสูตร ดังตัวอย่างในตาราง REIR สามารถเปรียบเทียบกับ Target ได้ใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปยอมรับให้ค่าทั้งสองเบี่ยงเบนได้ 5 dB แต่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังบางรายอาจไม่ชอบเครื่องช่วยฟังที่พอดีกับ Target เนื่องจาก Target เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการปรับเครื่องช่วยฟังเท่านั้น ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการใส่เครื่องช่วยฟัง

       การทดสอบ Real Ear จะมีความหมายมากที่สุดเมื่อพิจารณารวมกันเป็นชุดของ
การทดสอบมากกว่าดูแต่ละกราฟแยกกัน REUR เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้ทำนายกำลังขยายและความดังที่ต้องการ ส่วน REIR เพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอที่จะบอกว่าเครื่องช่วยฟังนั้นเหมาะสมกับผู้ป่วย ดังนั้นการทดสอบ Real Ear จะสามารถเป็นเครื่อง
มือสำหรับใส่เครื่องช่วยฟังที่มีคุณค่าได้เมื่อใช้ร่วมกับการรายงานผลการใส่เครื่องช่วยฟังของผู้ป่วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE