โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

ความเย็น…เป็นอันตรายต่อเครื่องช่วยฟังหรือเปล่า ?

อากาศในช่วงนี้ เรียกได้ว่า เป็นช่วงฤดูหนาวแล้ว แต่ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอยู่บ้าง แต่ยังไงก็อย่าลืมรักษาสุขภาพตัวเองด้วยนะ 

เนื่องจากอากาศที่หนาวขึ้น ก็ย่อมมีผลต่อการใช้ชีวิตเช่นเดียวกัน ถ้าเป็นคนเราแล้วละก็ คงต้องหาเสื้อกันหนาวมาสวมใส่เพื่อให้ความอบอุ่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เวลากลางคืนที่นานขึ้น สภาพอากาศความหนาวเย็นแบบนี้ ก็อาจทำให้ “เครื่องช่วยฟัง” ของคุณได้รับผลกระทบเช่นกัน เราลองมาดูกันว่า ความเย็น เป็นอันตรายต่อเครื่องช่วยฟังหรือเปล่า ?

 

แล้วความเย็นเป็นอันตรายต่อเครื่องช่วยฟังจริง ๆ หรอ ?

ความจริงแล้ว อากาศเย็นมีทั้งข้อดี และ ก็ข้อเสียอยู่ด้วยกัน จะขึ้นอยู่กับสภาพความเย็นที่เจอนั้นเป็นแบบไหน ซึ่งข้อดีของอากาศเย็นนั้นก็คือ การสวมใส่ที่สบาย และ รู้สึกดีต่อรูหูเพราะเนื่องจาการใส่เครื่องช่วยฟังจะเป็นการอุดรูหูไม่ให้ลมเข้าไปเนื่องจากจะมีผลต่อการรับฟังของเครื่องช่วยฟัง จึงเป็นเหตุให้ในหลาย ๆ คนมักมีปัญหาคือ เกิดคราบขี้หูขึ้นตรงบริเวณรูหู หรือ เกิดขี้เกลือในเครื่องช่วยฟัง ซึ่งมาจากเหงื่อที่ไหลออกมาจากบริเวณรูหูเข้าไปในเครื่องช่วยฟัง ซึ่งอากาศเย็นจะทำหน้าที่ให้ไม่เกิดเหงื่อขึ้น สวมใส่ได้สบายมากขึ้น มีความมั่นใจในการสวมใส่และที่สำคัญ การทำงานของเครื่องช่วยฟังจะยิ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าอากาศที่ร้อน

แต่…….อากาศเย็นก็มีข้อเสียต่อเครื่องช่วยฟังเช่นเดียวกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกิดหมอกก็เป็นสาเหตุเกิดขี้เกลือในเครื่องช่วยฟังได้ เพราะในหมอกนั้นจะมีละอองน้ำอยู่ด้านในทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเครื่องช่วยฟังก่อให้เกิดความชื้นด้านในเครื่องช่วยฟัง ส่งผลให้มีขี้เกลือออกมาจากเครื่องช่วยฟังนั้นเอง

 

สำหรับวิธีรักษาเครื่องช่วยฟังในช่วงหน้าหนาวที่อาการเย็น

ในเรื่่องของการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังใสช่วงหน้าหนาวนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1.ถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องช่วยฟังหลังใช้งาน

ไม่ว่าจะเป็นความเย็นจากอากาศหนาว หรือความร้อนที่มาจากฤดูร้อน ทุกครั้งเวลาที่คุณถอดเครื่องช่วยฟังออกไปแล้ว จะต้องถอดแบตเตอรี่ที่อยู่ด้านในด้วยทุกครั้ง เพราะแบตเตอรี่ที่ใส่เครื่องช่วยฟังนั้นเป็นแบบ Zinc-Air หากไม่ถอดออกแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาต่อแบตเตอรี่ เกิดเป็น ขี้เกลือ ที่มีผลกระทบต่อบริเวณด้านในเครื่องช่วยฟัง

2.ไม่สวมใส่เครื่องช่วยฟังขณะ ออกกำลังกาย

ไม่ใช่แค่แบตเตอรี่เท่านั้นจะเป็นตัวทำให้เกิด ขี้เกลือ ในเครื่องช่วยฟัง เหงื่อของคนเราก็สามารถทำปฏิกิริยาต่อเครื่องช่วยฟัง เกิดเป็นขี้เกลือได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วหากมีความจำเป็นที่จะต้องออกแรง หรือ จะต้องออกกำลังกาย ควรถอดเครื่องช่วยฟังออกก่อนทุกครั้ง

3.ทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังหลังใช้งาน

ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดทั่วบริเวณเครื่องช่วยฟัง และ คอยทำความสะอาดช่องเสียบตัวรับเสียง(WAX Guard)ด้วย เปลี่ยนทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ / ครั้ง ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการใส่เครื่องช่วยฟังด้วย

Recent Posts
Clear Filters

Add Comment

You must be logged in to post a comment.
Most Popular Posts
Most Viewed

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE