โทรสอบถามข้อมูลทุกวัน เวลา : 09.00 – 17.00 น.

หูตึงคืออะไร ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงมั่กมองข้าม

หูตึง

หะ อะไรนะพูดอีกทีสิ ไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่เลย คำพูดพวกนี้มักมองเป็นเรื่องปกติสำหรับใครหลายคน

แต่ความเป็นจริงแล้ว คุณอาจกำลังเป็น หูตึง เริ่มต้นนั้นเอง!?! วันนี้เรามาพูดเรื่อง

“หูตึง”ที่คนส่วนใหญ่มั่กมองข้าม อ่านมาถึงจุดแล้วอย่าลืมแชร์เป็นความรู้ หรือส่งหาคุณพ่อคุณแม่ที่มีแนวโนมว่าจะ “หูตึง” กันด้วยนะคะ

หูตึง แบบไหนที่เราเรียกว่าเข้าข่ายหูตึงกันหล่ะ ?

ขอแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่พึ่งเป็นอาการ(ชั่วคราว) กับ (ระยะถาวร) โดยแบ่งอาการดังนี้

  • มีปัญหาด้านการได้ยินโดยเฉพาะเวลาที่มีเสียงแทรกรบกวน หรือเมื่ออยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมาก
  • รู้สึกวิงเวียนหัวทุกครั้งที่ได้ยินเสียงกริ่ง หรือเสียงหึ่ง ๆ อยู่ในหู
  • อยากหลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้อื่น ๆเพราะมีปัญหาด้านการได้ยิน
  • ได้ยินเสียงพยัญชนะต่าง ๆ ไม่ชัดเจน เช่น ตัวอักษร ส หรือ ง เป็นต้น โดยเสียงพยัญชนะจะเบากว่าตัวอื่นๆ ที่ผู้ฟังได้ยินมา
  • เร่งเสียงโทรทัศน์หรือลำโพงเพราะเสียงที่ได้ยินเบา จนต้องเร่งเสียงเพิ่มขึ้น
  • เอามือป้องหูขณะฟังคนอื่นพูดเคยไหมที่แอบโน้มตัวเข้าใกล้คนอื่นขณะฟัง
  • ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการฟัง จนอาจทำให้รู้สึกเครียดและรู้สึกการสื่อสารผิดพลาดได้

 ซึ่งอาการที่กล่าวอ้างมาทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเอง  

สาเหตุหลักของคนหูตึง

อาการหูตึง ทั้งแบบชั่วคราว และแบบถาวร สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

หูตึง จากการเสียงที่ดัง และ ฟังเป็นเวลานานๆ จนทำให้เซลล์ขนในชั้นหู ถูกทำลาย (ความดัง มากกว่า 85 เดซิเบลขึ้นไป) โดยอาจทำให้อาการหูตึงชั่วคราว หรือหูตึงแบบถาวรสนิทและไม่มีวิธีรักษา น้ำในหูไม่เท่ากัน (มินิแอร์) อ่านเพิ่มเติม.. หูตึงจากยา เกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ สารประกอบจำพวกสารหนู ตะกั่ว ปรอท และยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแก้อักเสบต่าง ๆ หากหยุดยา อาการอาจดีขึ้นได้เอง อายุที่เพิ่มขึ้น หรืออาการหูตึงจากวัยชรา เมื่ออายุเกิน 50 ปี เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอยลง เซลล์ขนในหูชั้นในเอง ก็อาจค่อย ๆ เสื่อมสภาพตามกาลเวลาได้เช่นกัน เนื้องอกที่เส้นประสาทหู จะมีลักษณะอาการหูตึงเพียงด้านเดียว โดยอาการจะเริ่มจากมีเสียงรบกวนในหู ฟังไม่ค่อยชัด จับใจความหรือจับคำพูดไม่ค่อยได้ และค่อย ๆ มีความรุนแรงมากขึ้น หากเนื้องอกโตมาก อาจกดทับประสาทจนทำให้มีปัญหาด้านการมองเห็น หน้าเบี้ยว และเริ่มทรงตัวไม่ค่อยดี  หูตึงเฉียบพลัน หรือ หูดับ เกิดจากการติดเชื้อของหูชั้นใน ทำให้มีเลือดมาหล่อเลี้ยงหูชั้นในไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากเนื้องอกกดทับเส้นประสาทหู มากดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน อันตรายมาก  เกิดอุบัติเหตุในหูชั้นใน เกิดจากหูถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงจากการตีที่กกหู หรือถูกกระแทกอย่างแรงด้านหลังศีรษะ ทำให้กระดูกหูชั้นในแตกหรือร้าว โดยอาจมีอาการหูตึงเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงหูหนวก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ ชาบริเวณใบหน้าส่วนที่ใกล้เคียงกับหูข้างที่มีปัญหา

โดยระดับความผิดปกติของการได้ยินนั้นมีหลายระดับ

ซึ่งสามารถแบ่งตามความสามารถได้ยิน คือ

  • หูตึงน้อยไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังในบางครั้ง
  • หูตึงปานกลางต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุยกับผู้อื่น
  • หูตึงมากไม่ได้ยินเสียงพูดที่ดังมาก ต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
  • หูตึงรุนแรงต้องตะโกน หรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ก็ยังได้ยินไม่ชัดเจน
  • หูหนวกไม่ได้ยินที่ผู้อื่นพูดเลย แม้จะตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงแล้วก็ตาม

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน ศูนย์การได้ยินเดียร์ พร้อมให้คำปรึกษา

  • โทร. 02-668-1300
  • line@ : @dearhearing

บริการนัดตรวจการได้ยิน

ศูนการได้ยิน เดียร์ เปิดบริการมากกว่า 30 ปี  โดยให้ผลตรวจโดยตรงจาก Audiologist ให้คุณได้มั่นใจในบริการ สามารถนัดตรวจออนไลน์เพื่อนัดหมาย ในการเข้ารับบริการได้แล้ว ทางเราจะรีบติดต่อกลับทันที เพื่อให้คุณ

มีความสุขกับการได้ยินอีกครั้ง… 

Recent Posts
Clear Filters

Add Comment

You must be logged in to post a comment.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ADD LINE
close-link
ADD LINE