เครื่องช่วยฟัง
โดย คุณ นภัสวรรณ กฤษณัมพก นักโสตสัมผัสวิทยา
เครื่องช่วยฟังคืออะไร แล้วทำไมต้องใส่เครื่องช่วยฟัง?
หลักการทั่วไปของเครื่องช่วยฟัง
เครื่องช่วยฟัง คือ เครื่องขยายเสียงที่มีขนาดเล็ก ช่วยขยายเสียงจากภายนอกเข้าสู่หู ทำให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางการได้ยินสามารถรับฟังเสียงได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาโรคหูที่มีอยู่ให้หายปกติได้
ส่วนประกอบของเครื่องช่วยฟัง
ชนิดเครื่องช่วยฟัง
- เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง
- เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู
- เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู
ระบบของเครื่องช่วยฟังสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ระบบอะนาลอค (Analog) เป็นระบบที่ใช้การขนายเสียงแบบดั้งเดิม คือเสียงเข้ามาเท่าไหร่ เครื่องจะขยายเท่านั้นด้วยสัดส่วนเท่าๆกันในทุกๆเสียง ไม่สามารถปรับแต่งการขายเสียงอย่างละเอียดได้ ผู้ใช้มักมีปัญหาการฟังในที่ที่มีเสียงรบกวน
- ระบบดิจิตอล (Digital) ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการปรับแต่งเสียง สามารถปรับแต่งเสียงได้ละเอียด และยังมีความสามารถเพิ่มเติมในการจับเสียงพูด และลดเสียงรบกวนตามความสามารถของแต่ละรุ่น ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง
- ช่วยให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางการได้ยินสามารถรับฟังเสียงได้ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องพูดเสียงดัง
- ช่วยให้การสื่อสารดีขึ้น
- คงสภาพการใช้งานของระบบการรับฟังเสียง เพราะถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟังเป็นเวลานาน เสียงที่ได้ยินไม่ดังพอที่จะไปกระตุ้นเส้นประสาทหูให้ทำงาน เส้นประสาทหูก็จะเสื่อมลงได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใส่เครื่องช่วยฟัง
- ความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน
- ประเภทของการสูยเสียการได้ยิน
- ระยะเวลาที่มีการสูญเสียการได้ยิน
- จำนวนหูที่สูญเสียการได้ยิน
หลักการเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสม
การได้ทดลองฟังเสียงเปรียบเทียบในเครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่นจะช่วยให้ในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังได้อย่างดีที่สุด และนอกจากนี้ยังต้องคำนึกถึงปัจจัยในด้านอื่นๆดังต่อไปนี้
- งบประมาณ
- Lifestyle การใช้ชีวิตของผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง
- รูปแบบเครื่องช่วยฟัง ทั้งแบบกล่อง แบบทัดหลังหู และแบบใส่ในช่องหู เพราะแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดี และข้อเสียงแตกต่างกันออกไป
- ระบบคุณภาพเสียง
- แบบธรรมดา (Analog) ระบบขยายเสียงที่เป็นมาตราฐานทั่วไป ขยายทุกเสียงที่ผ่านเข้ามา
- แบบดิจิตอล (Digital) ระบบขยายเสียงพูดได้ชัดเจน และลดเสียงรบกวนได้มาก และสามารถปรับแต่งเสียงได้ตามความต้องการ
- กำลังขยาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังระบบใด ควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขายเสียงที่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
- แหล่งที่ซื้อ ความเชื่อมั่นของตัวบริษัทที่จำหน่ายเครื่องช่วยฟัง คุณภาพแบรนด์ของเครื่องช่วยฟังที่นำมาจำหน่าย ความสะดวกสบาย และการบริการให้คำปรึกษาที่ดีของบริษัทแก้ผู้ซื้อ และสิ่งที่สำคัญที่สุด การบริการหลังการขายแก่ผู้ซื้อ
คำแนะนำการใช้ และดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง
วิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง
- เปิดฝาถ่าน และเก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในกล่องทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ
- หลังการใช้ ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาด
- ใช้แปรงปัดทำความสะอาดขี้หู
- ควรเปลี่ยนแผ่นกรองขี้หู และจุกซิลิโคน เมื่อแผ่นกรองขี้หู และจุกซิลิโคนที่ใช้อยู่ มีขี้หูอุดตันซึ่งอาจจะมีผลต่อการทำงานของเครื่องช่วยฟัง
- เก็บถ่านในที่แห้ง ในอุณหภูมิห้อง
ข้อระมัดระวังในการใช้เครื่องช่วยฟัง
- อย่าทำตกหล่น บีบ หรือกระแทก
- หลีกเลี่ยงความชื้น
- หลีกเลี่ยงความร้อนสูง เช่น ไดร์เป่าผม , วางบนทีวี หรือไมโครเวฟ
- ถ้าต้องการใช้สเปรย์ หรือเจลแต่งผม กรุณาจัดแต่งทรงผมให้เรียบร้อยก่อนใส่เครื่องช่วยฟัง
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- เปลี่ยนแบตเตอรี่บนโต๊ะ เตียงนอน หรือบนที่ๆมีพื้นผิวนุ่ม
- หลีกเลี่ยงการใส่หรือถอดเครื่องช่วยฟัง ขณะเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอื่นๆในเวลาเดียวกัน
- เก็บเครื่องช่วยฟังในกล่องเก็บเครื่องช่วยฟัง (มีวัสดุกันการกระแทก)
- หลีกเลี่ยงการเก็บเครื่องช่วยฟังในกระเป๋าเสื้อเปล่าๆ หรือห่อกระดาษทิชชู่
วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
- เสียงเบา / ไม่มีเสียง
- เปลี่ยนถ่าน
- เปลี่ยนจุกยางซิลิโคน
- เปลี่ยนแผ่นกรองขี้หู
- ส่องหูอาจมีขี้หูอุดตันภายในช่องหู
- ส่งเครื่องซ่อม
- เสียงวี้ดรบกวน
- ขยับจุกยางซิลิโคนให้พอดีช่องหู
- อาจมีขี้หูอุดตันภายในช่องหู
- ติดต่อส่งเครื่องซ่อม
อย่างไรก็ตามเมื่อเรารู้สึกถึงความผิดปกติของหูเรา หรือความผิดปกติของคนรอบข้าง เริ่มพูดเสียงดังขึ้น หรือตะโกนคุยกัน ไม่สามารถได้ยินเสียงรอบข้างได้ เราควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อที่จะได้เกิดการตรวจอย่างละเอียด และทำการรักษาอย่างโดยด่วน ไม่ควรปล่อยให้เวลาทิ้งไปโดยที่ไม่รีบหาทางแก้ไขหรือรักษา
ศูนย์การได้ยิน เดียร์ เราพร้อมให้คำแนะนำ และคำปรึกษาเกี่ยวกับการไม่ได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง โดยนักโสตสัมผัสวิทยา เพราะเราอยากให้คุณ “มีความสุขในการได้ยิน…อีกครั้ง”