อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน
รศ.กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ
ชุลีพร กุลยานนท์
บุคคลที่มีความผิดปกติของการได้ยิน หรือที่เราเรียกว่า หูตึง หูหนวก จะไม่สามารถรับรู้เสียงได้เหมือนคนปกติ ไม่สามารถโต้ตอบสื่อความหมายด้วยการฟังและการพูด ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีอุปกรณ์ช่วยการได้ยินชนิดต่างๆ หลายอย่าง แต่ละชนิดมีระบบการทำงานและจำกัดแตกต่างกัน โสต ศอ นาสิกแพทย์และรักแก้ไขการได้ยินจึงจำเป็นต้องเลือกใช้อุปกรณ์ตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการได้ยินแต่ละราย ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของการใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยินคือ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการได้ยินให้สามารถรับรู้สัญญาณเสียง เกิดความเข้าใจและโต้ตอบสื่อความหมายได้ในสังคมที่ใช้การฟังและการพูดอย่างไรก็ตาม โรคหูที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของการได้ยินในแต่ละคนแตกต่างกัน บางโรคแพทย์สามารถทำการรักษาให้หายและทำให้การได้ยินกลับคืนสู่สภาพปกติได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน นอกจากนั้น สาเหตุความผิดปกติของการได้ยินอาจเกิดจากโรคที่เป็นอันตรายเช่นเนื้องอกของประสาทหู เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการได้ยินทุกรายจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากโสต ศอ นาสิกแพทย์ ก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง
อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ใหญ่ๆ ดังนี้
- อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เครื่องช่วยฟัง ประกอบด้วย
1.1 เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศ
1.2 เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก - อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่มีส่วนประกอบฝังอยู่ในร่างกายบริเวณหูและส่วนที่อยู่ภายนอกหู ซึ่งมีชนิดที่นิยมกันในปัจจุบัน ได้แก่
2.1 หูชั้นในเทียม
2.2 เครื่องรับฟังเสียงผ่านกระดูกบริเวณหลังใบหู - อุปกรณ์ช่วยการได้ยินอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
3.1 เครื่องกลบเสียงรบกวน
3.2 เครื่องช่วยการรับรู้โดยการสั่นสะเทือน